นอกจากไขมันและโปรตีนแล้ว คาร์โบไฮเดรตยังเป็นหนึ่งในสามธาตุอาหารหลักในอาหาร โดยมีหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตในการให้พลังงานแก่ร่างกายเป็นหลัก เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น น้ำตาลและใยอาหาร พบในแหล่งอาหารหลายชนิด เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้
หัวข้อน่าสนใจ
Toggleคาร์โบไฮเดรต คืออะไร
โดยพื้นฐานแล้วสารอาหารคาร์โบไฮเดรตอยู่ในอาหารหลักหมู่ที่ 2 ของอาหารหลัก 5 หมู่ คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญของน้ำตาล และสามารถจำแนกได้ตามจำนวนหน่วยน้ำตาลที่รวมกันในโมเลกุล ได้แก่ กลูโคส ฟรักโทส และกาแลคโตส เป็นตัวอย่างของน้ำตาลหนึ่งโมเลกุลหรือที่เรียกว่า “โมโนแซ็กคาไรด์”
น้ำตาลสองโมเลกุลหรือที่เรียกว่า “ไดแซ็กคาไรด์” ได้แก่ น้ำตาลซูโครส (น้ำตาลทราย) และแลคโตส (น้ำตาลพบในน้ำนม) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดี โมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์มักถูกเรียกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ส่วนโมเลกุลสายยาว เช่น แป้งและใยอาหาร มีชื่อเรียกว่าเรียกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
ตารางตัวอย่างคาร์โบไฮเดรต ตามการจำแนกประเภทต่างๆ
ประเภทคาร์โบไฮเดรต | ตัวอย่าง |
---|---|
โมโนแซ็กคาไรด์ | กลูโคส, ฟรักโทส, กาแลคโตส |
ไดแซ็กคาไรด์ | ซูโครส, แลคโตส, มอลโทส |
โอลิโกแซ็กคาไรด์ | ฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์, มอลโทโอลิโกแซ็กคาไรด์ |
โพลิออล | ไอโซมอลต์, มอลทิทอล, ซอร์บิทอล, ไซลิทอล, อิริทริทอล |
พอลิแซ็กคาไรด์ (แป้ง) | อะไมโลส, อะไมโลเพกทิน, มอลโทเดกซ์ทริน |
พอลิแซ็กคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง (ใยอาหาร) | เซลลูโลส, เพกทิน, เฮมิเซลลูโลส, อินูลิน, กัมจากยางพืช |
คาร์โบไฮเดรตที่รู้เราจักกันในมีชื่อเรียกต่างๆ ซึ่งมักจะหมายถึงคาร์โบไฮเดรตเฉพาะกลุ่ม ดังต่อไปนี้
- น้ำตาล (sugars)
- คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนซ้อน (simple and complex carbohydrates)
- แป้งทนการย่อย (resistant starch)
- ใยอาหาร (fiber)
- พรีไบโอติก (prebiotics)
- น้ำตาลที่พบตามธรรมชาติในอาหาร (intrinsic sugar)
- น้ำตาลที่เติมในระหว่างการแปรรูปอาหาร (added sugars)
ชื่อต่างๆ มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าคาร์โบไฮเดรตถูกจำแนกตามโครงสร้างทางเคมี แต่ยังขึ้นอยู่กับบทบาทหรือแหล่งที่มาในอาหารด้วย
ประเภทของคาร์โบไฮเดรต มีอะไรบ้าง
โมโนแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ และโพลิออล
คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีหน่วยน้ำตาลหนึ่งหรือสองโมเลกุล เรียกง่ายๆ ว่าน้ำตาล ตัวอย่างคือ
- กลูโคสและฟรักโทส เป็นโมโนแซ็กคาไรด์พบในผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง แต่ยังพบในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น น้ำเชื่อมกลูโคส-ฟรักโทส
- น้ำตาลทราย (table sugar) มีชื่อเรียกว่าซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ของกลูโคสและฟรักโทส และเกิดขึ้นตามธรรมชาติพบในหัวบีท อ้อย และผลไม้
- แลคโตส ซึ่งเป็นไดแซ็กคาไรด์ที่ประกอบด้วยกลูโคสและกาแลคโตส เป็นคาร์โบไฮเดรตหลักในนํ้านมและผลิตภัณฑ์จากนม
- มอลโตส เป็นกลูโคสไดแซ็กคาไรด์ที่พบในน้ำเชื่อมที่ได้จากมอลต์และแป้ง
โพลิออลหรือที่เรียกกันว่า น้ำตาลแอลกอฮอล์ก็มีรสหวานเช่นกัน สามารถนำไปใช้ในอาหารในเช่นเดียวกับน้ำตาล แต่มีปริมาณแคลอรี่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับน้ำตาลทราย โพลิออลเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่โพลิออลส่วนใหญ่ที่ใช้นั้นเกิดจากการเปลี่ยนรูปของน้ำตาล ซอร์บิทอลเป็นโพลิออลที่ใช้กันมากที่สุดในอาหารและเครื่องดื่ม ในขณะที่ไซลิทอลมักใช้ในหมากฝรั่ง ไอโซมอลต์เป็นโพลิออลที่ผลิตจากซูโครสมักใช้ในขนม โพลิออลสามารถมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้เมื่อรับประทานในปริมาณมาก
โอลิโกแซ็กคาไรด์
โอลิโกแซ็กคาไรด์เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลน้ำตาล ตั้งแต่ 2 ถึง 10 โมเลกุล รู้จักกันดีที่สุดคือ โอลิโกฟรักโทส มีอีกชื่อเรียกว่า ฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโทสน้อยกว่า 10 โมเลกุล และเกิดขึ้นตามธรรมชาติในผักที่มีความหวานต่ำ เช่น หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น แรฟฟิโนส (raffinose) กับสแตคีโอส (stachyose) เป็นอีกสองตัวอย่างหนึ่งของโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่พบในถั่ว ธัญพืช ผัก และน้ำผึ้ง โอลิโกแซ็กคาไรด์ส่วนใหญ่ไม่ถูกย่อยเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ โดยเอ็นไซม์นํ้าย่อยในร่างกาย แต่จะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้
พอลิแซ็กคาไรด์
มีโมเลกุลสิบหรือมากกว่านั้น และบางครั้งก็มากถึงหลายพันโมเลกุล เพื่อสร้างพอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นสองประเภท
- พอลิแซ็กคาไรด์ (แป้ง) เป็นพลังงานหลักพบในผักจำพวกราก (root vegetables) เช่น หัวหอม แครอท มันฝรั่ง และธัญพืชไม่ขัดสี มีสายโซ่ยาวของกลูโคสที่แตกต่างกัน รูปร่างที่แตกต่างกันไปตามชนิดของพืชพืช พอลิแซ็กคาไรด์ในสัตว์เรียกว่าไกลโคเจน แป้งบางชนิดสามารถย่อยได้โดยจุลินทรีย์ในลำไส้เท่านั้น กลไกในร่างกายไม่สามารถย่อยได้ เรียกว่าแป้งทนการย่อย
- พอลิแซ็กคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใยอาหาร ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และเพกติน แหล่งที่มาหลักของพอลิแซ็กคาไรด์เหล่านี้คือผักและผลไม้ รวมทั้งธัญพืชไม่ขัดสี ลักษณะเด่นของพอลิแซ็กคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้งคือ เส้นใยอาหารทั้งหมดร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ดังนั้นปริมาณพลังงานเฉลี่ยต่ำกว่าเมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ใยอาหารบางชนิดสามารถเผาผลาญได้โดยแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้เกิดสารประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acid) เหล่านี้มีบทบาทที่สำคัญต่อสุขภาพของลำไส้เป็นอย่างมาก
หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตในร่างกายของเรา
คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนสำคัญในอาหาร 5 หมู่แต่ละมื้อที่รับประทาน เป็นสารอาหารที่จำเป็นหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยให้พลังงานสำหรับการทำงานแก่ร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวหรือการคิด แต่ยังมีหน้าที่ช่วยอยู่เบื้องหลัง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สังเกตเห็นได้เลยในระหว่างการย่อยอาหาร
คาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยน้ำตาลมากกว่าหนึ่งชนิด จะถูกย่อยเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ด้วยเอนไซม์ย่อยอาหาร จากนั้นจะถูกดูดซึมโดยตรงทำให้เกิดการตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือด ร่างกายใช้กลูโคสโดยตรงเป็นแหล่งพลังงานในกล้ามเนื้อ สมอง และเซลล์อื่น ๆ
คาร์โบไฮเดรตบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้ และถูกหมักโดยแบคทีเรียในลำไส้ หรือผ่านเข้าไปในลำไส้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่น่าสนใจคือ คาร์โบไฮเดรตยังมีบทบาทสำคัญในโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะในร่างกาย
หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตมีดังต่อไปนี้
คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงาน
แหล่งพลังงานหลักที่ร่างกายต้องการเป็นหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต ส่วนใหญ่ถูกย่อยสลายเป็นกลูโคส เนื่องจากเซลล์ในสมอง กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่นๆ ใช้โมโนแซ็กคาไรด์โดยตรงเพื่อเป็นพลังงาน
คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงานในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทดังนี้
ประเภท | คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน (กิโลแคลอรีต่อกรัม) |
---|---|
แป้งและน้ำตาล | 4 |
โพลิออล | 2.4 |
ใยอาหาร | 2 |
โมโนแซ็กคาไรด์จะถูกลำไส้เล็กดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง ซึ่งจะถูกส่งไปยังเซลล์ที่ต้องการ ฮอร์โมนหลายชนิดรวมทั้งอินซูลินและกลูคากอน ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหารเช่นกัน มีหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือด โดยการกำจัดหรือเพิ่มกลูโคสในกระแสเลือดตามความจำเป็น
หากไม่ได้ใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจน ซึ่งเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งเก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองเมื่อจำเป็น เช่น ระหว่างมื้ออาหาร ตอนนอน ระหว่างการออกกำลังกายหรือในช่วงอดอาหารสั้น ๆ ร่างกายจะแปลงไกลโคเจนกลับเป็นกลูโคสเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง และเซลล์เม็ดเลือดแดงใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสามารถใช้พลังงานรูปแบบอื่นจากไขมันในสถานการณ์ที่จำเป็น เช่น ในช่วงเวลาที่อดอาหารเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้จึงต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของเราให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ สำหรับผู้ใหญ่จำเป็นต้องใช้กลูโคสประมาณ 130 กรัมต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการพลังงานของสมอง
ตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีน้ำตาล
เมื่อเรากินอาหารหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตต่อระดับน้ำตาลในเลือด จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่าการตอบสนองต่อน้ำตาลในเลือด สะท้อนถึงอัตราการย่อยอาหารและการดูดซึมกลูโคส รวมทั้งผลของอินซูลินในการทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ มีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตรา และระยะเวลาของการตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือด ดังต่อนี้
จากอาหาร
- ประเภทของน้ำตาลที่สร้างคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาลฟรักโทสมีการตอบสนองระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าน้ำตาลกลูโคส และซูโครสมีการตอบสนองระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ามอลโตส
- โครงสร้างของโมเลกุล เช่น แป้งที่มีกิ่งก้านแตกแขนงหลายสาขา เอนไซม์ย่อยได้ง่ายกว่ากว่าแป้งชนิดอื่น
- ปริมาณสารอาหารอื่นๆ ในอาหาร เช่น ไขมัน โปรตีน และไฟเบอร์
- วิธีการปรุงและแปรรูปอาหาร
จากกระบวนการ (เมตาบอลิซึม) ในร่างกาย
- การบดเคี้ยว (การย่อยเชิงกล)
- อัตราการการย่อยในกระเพาะอาหาร
- ระยะเวลาอาหารที่ย่อยแล้วเคลื่อนย้ายผ่านลำไส้เล็ก
- การเผาผลาญในร่างกาย
- ระยะเวลาที่กินอาหาร
ผลกระทบของอาหารประเภทต่างๆ ต่อการตอบสนองของระดับน้ำตาลในเลือดนั้น ซึ่งมักจะเป็นขนมปังขาวหรือน้ำตาลกลูโคส ภายในสองชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร การวัดนี้เรียกว่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index : GI) ค่าดัชนีน้ำตาลที่ระดับ 70 หมายความว่า อาหารหรือเครื่องดื่มทำให้เกิดการตอบสนองของกลูโคสในเลือด 70% หลังรับประทานจะถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็ว
ดังนั้นหากรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลินอาจเป็นปัจจัยให้เกิดโรคเบาหวานได้ ส่วนใหญ่เวลารับประทานคาร์โบไฮเดรตมักมีส่วนผสมของโปรตีน และไขมันซึ่งทั้งหมดมีอิทธิพลต่อระดับดัชนีน้ำตาล
อาหารที่มีค่า GI สูงทำให้เกิดการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดมากกว่าอาหารที่มีค่า GI ต่ำ ในขณะเดียวกัน อาหารที่มีค่า GI ต่ำจะถูกย่อยและดูดซึมได้ช้ากว่าอาหารที่มีค่า GI สูง ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีค่า GI ต่ำซึ่งสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเมตาบอลิซึม เช่น โรคอ้วนและเบาหวาน
ตารางค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index : GI) ตัวอย่างของผลไม้บางชนิด
ค่าดัชนีน้ำตาล | ชื่อผลไม้ |
---|---|
ระดับตํ่า มีค่า GI เท่ากับหรือน้อยกว่า 55 | แอปเปิล, กล้วย (สีเขียวยังไม่สุก), เบอร์รี่, แคนตาลูป, แตงโมน้ำผึ้ง, มะม่วง, ส้ม, ลูกพีช, ลูกแพร์, พลัม,ทับทิม, ลูกพรุน |
ระดับปานกลาง มีค่า GI ระหว่าง 56 ถึง 69 | กล้วย (สีเหลืองสุก), เชอร์รี่, มะเดื่อ, องุ่น, กีวี่, ลิ้นจี่, สัปปะรด, ลูกเกด |
ระดับสูง มีค่า GI เท่ากับหรือมากว่า 70 | กล้วย (สีน้ำตาลสุกเกินไป), แตงโม |
การทำงานของลำไส้และใยอาหาร
แม้ว่าลำไส้เล็กของเราไม่สามารถย่อยเส้นใยอาหารได้ แต่ไฟเบอร์ช่วยให้การทำงานของลำไส้ดี โดยการเพิ่มปริมาณทางกายภาพในลำไส้ และด้วยเหตุนี้จึงกระตุ้นการเคลื่อนที่ในลำไส้ เมื่อคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยไม่ได้ผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ เส้นใยบางชนิด เช่น กัมจากยางพืช เพกตินและโอลิโกแซ็กคาไรด์จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ สิ่งนี้จะเพิ่มมวลในลำไส้และมีผลดีต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ นอกจากนี้ยังใยอาหารที่ถูกย่อยโดยจุลินทรีย์จะได้กรดไขมันสายสั้นซึ่งถูกปล่อยออกมาในลำไส้ใหญ่ โดยมีผลดีต่อสุขภาพของเรา
บทส่งท้าย
คาร์โบไฮเดรตเป็นหนึ่งในสามธาตุอาหารหลักในอาหารของเรา และหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตนั้นสำคัญต่อร่างกาย มีโครงสร้างในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่น้ำตาลในแป้งไปจนถึงใยอาหาร และมีอยู่ในอาหารหลายชนิดที่เรารับประทาน
Tags: สารอาหารคาร์โบไฮเดรต